ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ "นครโค้ด" รูปแบบใหม่ของเรา หากต้องการเข้าเว็บไซต์เก่าสามารถดูได้ที่ https://archive.nakorncode.com/

  1. คอร์สเรียนฟรี
  2. 1. Intro to Programming - บทนำของสายอาชีพพัฒนาโปรแกรม
  3. 4. โปรแกรมเมอร์มีสายงานอะไรบ้าง และหางานทำได้จากไหน?

4. โปรแกรมเมอร์มีสายงานอะไรบ้าง และหางานทำได้จากไหน?

  • ความยาวของวิดีโอ: 18 นาที 2 วินาที

รู้หรือไม่ว่าโปรแกรมเมอร์เขาหางานทำได้จากไหน? หากพูดถึงกรณีการทำเป็นงานบริษัทอย่างเดียว ในบทนี้เราจะมาดูวิธีการหางานกัน และทำความรู้จักกับสายงานโปรแกรมเมอร์ ที่จะมีหน้าที่แตกต่างกันบางส่วนกันไป

สิ่งที่จะได้เรียนรู้ในบทนี้:

  • จำแนกประเภทของงานอาชีพพัฒนาโปรแกรมต่างๆ
  • แนวทางการหางานทำในประเทศไทยเกี่ยวกับพัฒนาโปรแกรม

สายงานอาชีพของโปรแกรมเมอร์

ส่วนหนึ่งโปรแกรมเมอร์นั้นค่อนข้าง ไร้ขอบเขต เพราะงานของโปรแกรมเมอร์คือสร้างซอฟต์แวร์ อำนวยความสะดวกแก่อาชีพอื่นๆ ด้วย จึงทำให้เราก็มีโอกาสที่จะเขียนโค้ด และออกแบบระบบหุ่นยนต์ของการแพทย์ แบบนี้ก็จะมีชื่อของสายงานแยกไปอีก เช่น Medical Robotics Engineer ถึงแม้ว่าดูเหมือนเขาจะต้องมีความรู้ด้านหุ่นยนต์ ฮาร์ดแวร์ รวมทั้งการแพทย์เพิ่มเติม แต่ก็ต้องมีส่วนของการพัฒนาโปรแกรมตามฉบับโปรแกรมเมอร์เช่นกัน

ดังนั้นในส่วนของงานนี้จะพูดถึงสายงานที่นิยมในไทยเป็นหลัก เช่น

  • Software Developer
  • Web Developer
  • Mobile App Developer
  • System Engineer
  • Software Tester
  • Software Architecture/Analysis
  • Database Administrator
  • DevOps Engineer
  • Security Engineer
  • Data Scientist
  • AI/Machine Learning Engineer
  • Game Developer
  • Blockchain Developer

ซึ่งจากการสังเกตเป็นการส่วนตัว แต่ละสายงานจะมีฐานเงินเดือนคล้ายกันในประเทศไทย คือเริ่มต้นประมาณ 18,000 - 35,000 บาท หรือหากเป็นบริษัทระดับนานาชาติ อาจจะต้องสื่อสารภาษาอังกฤษ และตามทักษะที่เขาต้องการ จุดเริ่มต้นเงินเดือนแต่ละคนก็จะแตกต่างตามความสามารถเราและสถานที่ทำงานไปด้วย

แนวทางการหางานทำในประเทศไทย

ในส่วนนี้เราจะพูดถึง เฉพาะส่วนของพนักงานบริษัท เท่านั้น สำหรับงานฟรีแลนซ์หรืออื่นๆอาจจะแนะนำลองค้นหาและรับฟังข้อมูลจากท่านอื่น

  • สามารถค้นหาตาม Google ได้ปกติสำหรับเว็บรวมหางานในประเทศไทย แต่ส่วนหนึ่งผมจะแนะนำให้เลือกดูจาก Blognone Jobs ก่อนเป็นอันดับแรก
  • เราสามารถค้นหางานผ่าน Facebook หรือนำเสนอโปรไฟล์เราได้เช่นกัน โดยผมจะแนะนำกลุ่มดังนี้ในประเทศไทย
  • ในรายละเอียดของตัวประกาศงาน มักจะเป็น ภาษาอังกฤษ ซึ่งส่วนตัวแล้ว ประกาศงานที่เป็นภาษาอังกฤษจะน่าสนใจกว่า เพราะดูเป็นบริษัทที่มีความรู้หรืออาจจะพร้อมจ้างชาวต่างชาติ อีกทั้งเราเองที่เป็นโปรแกรมเมอร์ก็จะต้องมีทักษะภาษาอังกฤษเป็นอันดับแรกๆเช่นกัน
  • ส่วนมากในรายละเอียดงาน เราจะเห็นว่าเขาต้องการคนที่มีคุณสมบัติ จบระดับปริญญาตรี และอาจจะต้องได้เรียนสาขาที่ข้องกับพัฒนาโปรแกรม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องผ่านการเรียนมหาวิทยาลัย
  • ในการอ่าน รายละเอียด ก็จะมีทั้งส่วนหน้าที่ที่เราจะต้องทำ ความต้องการทักษะของเรา และสิทธิประโยชน์สำหรับพนักงาน ซึ่งล้วนมีความสำคัญในการตัดสินใจ
  • โดยปกติแล้ว เราไม่ควรตันสินใจ ยื่นสมัครทำงานเพียงที่เดียว เพราะเป็นไปได้ว่าอาจจะไม่มีการตอบกลับ หรือเราไม่ผ่านคุณสมบัติที่เขาต้องการได้ ดังนั้นเราควร กระจายยื่นสมัครไว้หลายที่ เช่น 5-10 ที่ทำงานที่เหมาะสมกับเรา
  • หากมีการติดต่อกลับมาพร้อมกันหลายที่ เราสามารถ แบ่งเวลาการสัมภาษณ์งาน ได้ โดยอาจจะเกิดได้หลายกรณีตรงนี้ขึ้นอยู่กับเราว่า จะบริหารมารยาทเหล่านี้อย่างไร เช่น
    • หากมีที่ติดต่อขอสัมภาษณ์ 3 ที่ทำงาน เราอาจจะ นัดแบ่งวันละที่ โดยเราเองจะต้องเป็นคนนัดไม่ให้ชนกับบริษัทอื่น
    • หากเราสัมภาษณ์ที่แรกเสร็จแล้ว เขาประกาศชัดเจนว่าจะรับเราเข้าทำงาน ตรงนี้อาจจะต้องบอกไปตรงๆเลยว่าเรายังติดสัมภาษณ์งานที่อื่นก่อน ไว้เราจะติดต่อกลับมาภายหลังว่าอยากเข้าที่แรกจริงหรือไม่ เพราะเรากำลังอยู่ในฐานะ อาจจะเลือกที่ทำงาน ได้
    • หากที่สัมภาษณ์ที่สองน่าสนใจกว่า เราสามารถปฏิเสธที่แรกได้แม้ว่าเราจะคุยสัมภาษณ์กันจนเขาอยากได้ตัวเราแล้วก็ตาม ตรงนี้เป็นเรื่องปกติ เห็นแก่ตัว ได้บ้าง เพราะเราควรจะเลือกสถานที่ทำงานที่เหมาะกับเรามากที่สุด
    • ในบางครั้งคุณอาจจะ กลัว ได้ว่า ถ้าเราไม่ตอบให้ชัดเจนว่าเราจะเข้าทำงานที่แรกจริงหรือไม่ มัวแต่ลุ้นสถานที่ทำงานที่สองสามตามลำดับ มันก็มีความเป็นไปได้บ้างว่าเราอาจจะพลาดที่ทำงานทั้งหมดเลยก็ได้ เพราะทางบริษัทอื่นก็เป็นไปได้ว่าเขามีตัวเลือกพนักงานคนอื่นอยู่บ้างแล้ว ดังนั้นรีบร้อนเข้าทำงานตั้งแต่ที่แรก และปฏิเสธบริษัทอื่นๆทั้งหมดที่แม้ว่าจะนัดสัมภาษณ์ไว้แล้ว ก็อาจจะไม่แย่อะไร
    • อย่างไรก็ตาม ควรให้เกียรติ บริษัทแรกที่เข้ามาติดต่อเราเสมอ
  • การสัมภาษณ์ มีทั้งแบบไปถึงที่ตัวบริษัท ที่สัมภาษณ์ผ่านทางออนไลน์ ซึ่งเราก็ควรแต่งตัวให้เกียรติตามฉบับของเรา เป็นสิ่งสำคัญที่คนเราจะดูจากภายนอกก่อนเสมอ
  • ในระหว่างการสัมภาษณ์ ส่วนมากจะเป็นการพูดคุยทำความรู้จักทั่วไป และดูผลงานเราว่าทำอะไรมาแล้วบ้าง ซึ่งตรงนี้เราควรเตรียมให้เขาสามารถเข้าถึงผลงานเราได้ด้วย และเขาจะเริ่มวัดความสามารถเราพื้นฐาน จากการตอบคำถามทางเทคนิคต่างๆ ก็จะเป็นคำถามจากสิ่งที่เราได้เรียนมาทั้งหมด บางครั้งอาจจะมีเป็นการบ้านให้เรากลับมาทำ 1 วัน และส่งให้ตรวจก่อนที่ทางเขาจะรับงานจริง
  • เมื่อเราตกลงและได้งานทำแล้ว หลังจากนั้นจะมีการเซ็นต์สัญญา แน่นอนว่าเรา ควรอ่านรายละเอียดทั้งหมดและเตรียมปฏิบัติให้ถูกต้อง ส่วนมากจะประมาณ 2-5 หน้ากระดาษ A4
  • หลังจากเราได้เป็นพนักงานบริษัทเต็มตัวแล้ว เราควรเรียนรู้หัวข้อ “ประกันสังคม” และ “การยื่นภาษีประจำปี” เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่มีโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยไหนน่าจะสอนกัน แล้วเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากด้วยสำหรับพนักงานบริษัท แนะนำให้ค้นบน Google ศึกษาด้วยตนเองได้ หรือสอบถามกับเพื่อนร่วมงานของเรา นอกจากนี้บางบริษัทจะมีสวัสดิการอย่าง “กองทุน” เป็นสิ่งหนึ่งที่น่าศึกษาไว้เช่นกันเพื่อผลประโยชน์ทางการเงิน
    • แนะนำไว้ส่วนหนึ่ง สำหรับ การยื่นภาษีประจำปี จะเริ่มทุกๆต้นปี ดังนั้นเมื่อขึ้นปีใหม่ เราควรดำเนินการเรื่องนี้ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนแรก หากลืมเกินกำหนดเราจะถูกเรียกค่าปรับได้

ขอให้ทุกคนโชคดี ได้งานทำกันทุกคนครับ

  • Tags:
  • programmer
  • โปรแกรมเมอร์
  • สายงานโปรแกรมเมอร์
  • โปรแกรมเมอร์ทำงานอะไร
  • หางานโปรแกรมเมอร์
  • โปรแกรมเมอร์สายงาน
  • งานโปรแกรมเมอร์
  • โปรแกรมเมอร์สมัครงาน
  • โปรแกรมเมอร์อาชีพ
  • หางานทำ
  • programmer-careers
  • job-search
  • programmer-job-opportunities
  • โปรแกรมเมอร์หางาน
  • งานสายโปรแกรมเมอร์
  • programmer-career-paths
  • where-to-find-programmer-jobs
  • โปรแกรมเมอร์ตลาดงาน
  • software-developer-jobs
  • tech-careers
  • it-job-search
  • โปรแกรมเมอร์ทำงานที่ไหน